การใช้อุปกรณ์เฝือกพยุงหลัง

งานกายอุปกรณ์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์

โทร. 02-306-9899  ต่อ 3173

นักกายอุปกรณ์ ณฐกร เอกอุรุชัยเทพ

เฝือกพยุงหลัง (Lumbosacral support)

เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือที่ใช้คาดบริเวณบั้นเอวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมอาการปวดหลังและเตือนให้จำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว (บริเวณหลังส่วนล่าง)

Lumbosacral support

หลักการทำงาน

เพื่อช่วยในการกระชับกล้ามเนื้อด้านหน้าและด้านข้าง (Anterior and Lateral trunk containment) โดยเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้องและส่งผลต่อการลดแรงกดทับที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกและกระดูกสันหลังระดับบั้นเอวส่วนล่าง (Lumbosacral spine)
และช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลังส่วนเอว

วิธีการใส่อุปกรณ์

1. ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยพลิกให้ไหล่และสะโพกไปพร้อมกัน และอาจงอเข่าเพื่อให้ง่ายต่อการพลิกตัว

2. นำอุปกรณ์พยุงหลังเข้าไปวางด้านหลังลำตัวผู้ป่วยโดยให้ขอบล่างของอุปกรณ์อยู่บริเวณก้นกบ และแนวแกนโลหะอยู่ขนาบข้างแนวกระดูกสันหลัง และสอดปลายอุปกรณ์ไว้ข้างลำตัว

3. พลิกตะแคงตัวมาด้านตรงข้าม ดึงปลายและจัดอุปกรณ์พยุงหลังให้อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม

4. พลิกตัวกลับมาในท่านอนหงาย แขม่วท้องแล้วติดแถบรัดของอุปกรณ์ทางด้านหน้าให้กระชับ

วิธีการถอดอุปกรณ์

1. ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ดึงแถบรัดของอุปกรณ์พยุงหลังออกจากกัน

2. ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยพลิกให้ไหล่และสะโพกไปพร้อมกัน นำอุปกรณ์พยุงหลังออกจากตัวผู้ป่วย


ข้อแนะนำการใช้

1. แผ่นโลหะตามด้านหลัง ควรได้รับการดัดให้เข้ากับแนวความโค้งของกระดูกสันหลัง

2. ควรดึงสายรัดให้แน่นกระชับพอดี ไม่หลวมหรือแน่นจนเกินไปเพราะจะไม่ได้ประสิทธิภาพ

3. ควรใส่เฉพาะเวลาลุกนั่ง ยืน หรือเดิน และไม่จำเป็นต้องใส่เวลานอนราบบนเตียง

4. การใส่ตลอดเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจมีผลทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้พยุกระดูกหลังอ่อนแรง
    มากขึ้น ดังนั้นเมื่อหมดข้อบ่งใช้ควรค่อยๆลดการใช้ หรือใช้เฉพาะจำเป็น

5. ควรออกกำลังกายบริหารช่วงกล้ามเนื้อท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงร่วมด้วย shorturl.asia/tGERI

 6. สวมใส่ตามคำแนะนำของแพทย์

ท่าออกกำลังเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อหน้าท้องและลดความแอ่น
ของหลัง (Pelvic tilt)

  • ตั้งเข่าขึ้นทั้ง 2 ข้าง
  • เกร็งหน้าท้องและกดหลังลงให้แนบกับพื้นเตียง
  • ค้างไว้นับ 1-10 (ไม่ควรกลั้นหายใจขณะทำ)
  • ทำ 5-10 ครั้ง ต่อรอบ วันละ 2 รอบ

ข้อควรระวัง

  • ไม่ควรทำในระยะที่มีการอักเสบ/บาดเจ็บของหมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังเฉียบพลัน
  • ในกรณีที่ทำแล้วปวดหลังมากขึ้น ควรหยุดและปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด

การทำความสะอาด

  • ควรถอดแกนโลหะออกก่อนทำความสะอาด
  • ซักมือด้วยน้ำสบู่หรือน้ำสะอาด
  • ไม่ควรขยี้หรือบิดและวางพาดในแนวราบ
  • ควรตากในที่ร่มให้แห้งสนิทก่อนนำไปใช้

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: