การผ่าตัดเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอร้าวลงแขนหรืออ่อนแรงแขนขา จากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังมีอยู่หลายวิธี โดยหนึ่งในวิธีมาตรฐานที่ให้ผลการรักษาดี คือการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกส่วนคอที่มีการเสื่อมมากหรือแตกออกไปจากทางด้านหน้า (Anterior cervical diskectomy) และเชื่อมข้อที่มีปัญหานั้น(Fusion) เพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนไหวจนเกิดปัญหาซ้ำอีก เรียกการผ่าตัดนี้ว่า ACDF การวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับรากประสาท (ภาพที่ 3 ด้านซ้าย) หรือไขสันหลัง (ภาพที่ 3ด้านขวา) อาศัยการตรวจร่างกายที่แม่นยำ และการใช้ภาพรังสี (การถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์และ/หรือ MRI) มาประกอบกัน โดยต้องแยกจากโรคที่พบบ่อยกว่าและมักถูกวินิจฉัยสับสนกันอยู่เสมอ เช่น โรคกล้ามเนื้อตึงหรืออักเสบเรื้อรังบริเวณสะบักหรือกล้ามเนื้อคอและบ่า (Myofascial pain syndrome) ซึ่งมีอาการปวดคอร้าวลงแขน แขนชา คล้ายกันได้ โรคพังผืดรัดเส้นประสาทที่ข้อมือทำให้มือชา (Carpal Tunnel Syndrome) รวมถึงเอ็นไหล่อักเสบที่ทำให้ปวดไหล่ร้าวลงแขนและอ่อนแรงได้ เป็นต้น ในรายที่มีความเสื่อมของกระดูกคอมากๆอาจเห็นกระดูกคอรูปร่างผิดปกติ หรือมีช่องหมอนรองกระดูกแคบ (ภาพที่ 2) ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ประสาทศัลยแพทย์จะต้องตรวจผู้ป่วยอย่างละเอียดและแยกโรคต่างๆเหล่านี้ออกไป ก่อนการตัดสินใจผ่าตัดที่กระดูกสันหลังส่วนคอ เพื่อให้การผ่าตัดประสบผลสำเร็จ การรักษา ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท (cervical spondylotic radiculopathy, CSR) หากไม่ประสบความสำเร็จจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดทุกวิธีแล้ว (การใช้ยา ปรับพฤติกรรม และการกายภาพ) เป็นเวลามากกว่า 6-8 สัปดาห์ ถือว่ามีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ซึ่งหากการวินิจฉัยถูกต้องและเลือกวิธีการผ่าตัดเหมาะสม โอกาสประสบความสำเร็จจากการผ่าตัด ACDF มีสูงมาก โดยเฉพาะการลดปวดแขน (90%) และปวดคอ (70-80%) อย่างไรก็ตาม อาการอ่อนแรงและอาการชาต้องใช้เวลาให้ร่างกายค่อยๆฟื้นตัวร่วมกับการกินยาและกายภาพหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนหลังผ่าตัด และในผู้ป่วยบางรายที่รากประสาทถูกกดรุนแรงจนมีการเสียหายถาวรตั้งแต่ก่อนผ่าตัดแล้ว อาจได้ผลลดปวดไม่ดีอย่างที่ควรจะได้รับ สำหรับผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับไขสันหลัง (cervical spondylotic myelopathy, CSM) อาจมีอาการอื่นนอกจากปวดคอร้าวลงแขนหรือชาแขนได้ ในผู้ป่วยรายที่รู้สึกอ่อนแรงไม่มาก อาจมีปัญหาเสียการทรงตัวและเดินลำบาก หยิบจับของไม่ถนัดหรือกำของได้ไม่แน่น การขับถ่ายผิดปกติโดยมักมีการกลั้นอุจจาระปัสสาวะไว้ไม่อยู่ ในกรณีที่ถูกกดทับมากๆมักมีอาการแขนขาอ่อนแรง ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานๆอาจมีกล้ามเนื้อฝ่อได้ โดยทั่วไปจึงมักแนะนำให้ผ่าตัด หรือใช้เวลารักษาแบบไม่ผ่าตัดในระยะสั้นเท่านั้น หากไม่มีข้อจำกัดทางสุขภาพด้านอื่นๆ การผ่าตัด ACDF ทำโดยการเอาหมอนรองกระดูกที่เป็นปัญหาออก เพื่อแก้ไขการกดทับ หลังจากนั้นประสาทศัลยแพทย์จะเสริมช่องว่างที่เกิดขึ้นโดยใช้ชิ้นกระดูกที่ได้มาจากการตัดกระดูกบริเวณเชิงกรานของผู้ป่วย หรือใช้วัสดุค้ำแทนที่หมอนรองกระดูก เพื่อเชื่อมกระดูกชิ้นบนและล่างให้กลายเป็นกระดูกชิ้นเดียวกันในที่สุด ในกรณีที่มีปัญหาหลายระดับและจำเป็นต้องผ่าตัดมากกว่า 1-2 ช่อง จะมีการยึดบริเวณด้านหน้ากระดูกสันหลังด้วยแผ่นโลหะและสกรู (Cervical plate and screw) เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุที่ใส่ไว้แต่ละช่องเกิดการเลื่อนหลุดออกมาหลังการผ่าตัดวัสดุที่ใส่ไว้ในแต่ละระดับนั้นจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2-3 เดือนเพื่อเชื่อมต่อเป็นข้อเดียวกันหลังการผ่าตัด ซึ่งเมื่อกระดูกเชื่อมต่อกันสนิทแล้วจึงจะถือว่าการผ่าตัดครั้งนี้หายอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากการตัดชิ้นกระดูกจากเชิงกราน (IliacContinue reading “การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง โดยการผ่าตัดทางด้านหน้าและเชื่อมข้อ (Anterior Cervical Diskectomy and Fusion; ACDF)”