
พิเศษๆ ห้ามพลาด ฝากติดตามรายการ
FACEBOOK LIVE NIT Talk EP.78
สถาบันประสาทวิทยา
เวทีเสวนา 360゜กับประสบการณ์ชีวิตผู้ป่วยโรคลมชัก
80 ปี กรมการแพทย์ ทำดีที่สุดเพื่อทุกชีวิต
วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2565
ตั้งแต่ เวลา 09.30 น.เป็นต้นไปค่ะ
วิทยากรเชี่ยวชาญโดย
นายแพทย์ ธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ศัลยกรรมประสาท
แพทย์หญิง ปาณิสรา สุดาจันทร์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สาขากุมารประสาทวิทยา
นายแพทย์ทินนกร ยาดี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ แพทย์ประสาทวิทยา
พิธีกร/แขกรับเชิญพิเศษ คุณปฏิภาณ ปฐวีกานต์ (มอส) นักร้อง นักแสดง
ฝากติดตามเฟสบุ๊คสถาบันประสาทวิทยา กดไลค์ กดแชร์ และกดกระดิ่งเพื่อติดตามข้อมูลและสาระสำคัญ ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับโรคระบบประสาทค่ะ
Cr. https://www.facebook.com/PNI.Bangkok
สระผมก่อนอาบน้ำ…ปัจจัยเสี่ยงเส้นเลือดสมองแตก จริงหรือ? สัมภาษณ์ : นพ.กรภัค หวังธนภัทร
-สระผมก่อนอาบน้ำ…ปัจจัยเสี่ยงเส้นเลือดสมองแตก จริงหรือ? สัมภาษณ์ : นพ.กรภัค หวังธนภัทร นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านศัลยกรรมประสาท สถาบันประสาทวิทยา ในรายการ “สุขภาพดี 4 ทุ่ม” 16มี.ค. 65 ทาง FM100.5 ดำเนินรายการโดย นฤมล โลวะกิจ และ ภัทรดนัย เทศสุวรรณ #FM1005 #MCOTNews #สุขภาพดี4ทุ่ม #สระผมก่อนอาบน้ำ #เส้นเลือดสมองแตก #กรภัคหวังธนภัทร
สัญญานเตือน “มะเร็งสมอง” ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
สัญญานเตือน “มะเร็งสมอง” ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
สัมภาษณ์ : นายแพทย์กุลพัฒน์ วีรสาร นายแพทย์เชียวชาญ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์
งานประชุมวิชาการประจำปี
ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย 2565
Virtual meeting
16-18 กุมภาพันธ์ 2565

register at https://rcnst.virtual-meeting.live/home.php
Neurosurgical Cadaveric Workshop for Residency Training 2021
Latest Posts
ประกาศรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน ปีการศึกษา 2565

- การใช้อุปกรณ์เฝือกพยุงหลังงานกายอุปกรณ์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ โทร. 02-306-9899 ต่อ 3173 เฝือกพยุงหลัง (Lumbosacral support) เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือที่ใช้คาดบริเวณบั้นเอวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมอาการปวดหลังและเตือนให้จำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว (บริเวณหลังส่วนล่าง) หลักการทำงาน เพื่อช่วยในการกระชับกล้ามเนื้อด้านหน้าและด้านข้าง (Anterior and Lateral trunk containment) โดยเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้องและส่งผลต่อการลดแรงกดทับที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกและกระดูกสันหลังระดับบั้นเอวส่วนล่าง (Lumbosacral spine)และช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลังส่วนเอว วิธีการใส่อุปกรณ์ 1. ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยพลิกให้ไหล่และสะโพกไปพร้อมกัน และอาจงอเข่าเพื่อให้ง่ายต่อการพลิกตัว 2. นำอุปกรณ์พยุงหลังเข้าไปวางด้านหลังลำตัวผู้ป่วยโดยให้ขอบล่างของอุปกรณ์อยู่บริเวณก้นกบ และแนวแกนโลหะอยู่ขนาบข้างแนวกระดูกสันหลัง และสอดปลายอุปกรณ์ไว้ข้างลำตัว 3. พลิกตะแคงตัวมาด้านตรงข้าม ดึงปลายและจัดอุปกรณ์พยุงหลังให้อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม 4. พลิกตัวกลับมาในท่านอนหงาย แขม่วท้องแล้วติดแถบรัดของอุปกรณ์ทางด้านหน้าให้กระชับ วิธีการถอดอุปกรณ์ 1. ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ดึงแถบรัดของอุปกรณ์พยุงหลังออกจากกัน 2. ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยพลิกให้ไหล่และสะโพกไปพร้อมกัน นำอุปกรณ์พยุงหลังออกจากตัวผู้ป่วย ข้อแนะนำการใช้ 1. แผ่นโลหะตามด้านหลัง ควรได้รับการดัดให้เข้ากับแนวความโค้งของกระดูกสันหลัง 2. ควรดึงสายรัดให้แน่นกระชับพอดี ไม่หลวมหรือแน่นจนเกินไปเพราะจะไม่ได้ประสิทธิภาพ 3. ควรใส่เฉพาะเวลาลุกนั่งContinue reading “การใช้อุปกรณ์เฝือกพยุงหลัง”
- การใช้อุปกรณ์เฝือกพยุงคองานกายอุปกรณ์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ โทร. 02-306-9899 ต่อ 3173 เฝือกพยุงคอ เป็นกายอุปกรณ์เสริมที่ใช้คาดบริเวณลำคอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมกล้ามเนื้อและจำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกช่วงคอ เหมาะกับ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบริเวณคอ และ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทที่ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณคอได้ หลักการทำงาน เพื่อประคองและป้องกันช่วงลำคอให้มีการเคลื่อนไหวที่น้อยลง ช่วยเตือนผู้ใส่ไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยการป้อนกลับของประสาทสัมผัส (sensory feedback) ช่วยรองรับและพยุงน้ำหนักของส่วนศีรษะแทนส่วนลำคอและกระดูกคอ การทำความสะอาด ควรซักทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอก ล้างด้วยน้ำสะอาดและนำไปตากในที่ร่มให้แห้งสนิท ไม่ควรใส่ทั้งที่อุปกรณ์ยังเปียกหรือชื้นอยู่ เพราะจะให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียได้ 1. เฝือกพยุงคอชนิดอ่อน (Soft Collar) ใช้เป็นเครื่องเตือนและประคอง เพื่อลดการเคลื่อนที่ของส่วนคอให้น้อยลง มีส่วนช่วยในการลดการเกร็งและบรรเทาอาการปวดต้นคอเพื่อเลี่ยงอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่ไม่ใช่กระดูก วิธีการใส่อุปกรณ์ นำเฝือกทาบที่ลำคอโดยให้ตีนตุ๊กแกอยู่ด้านหลัง และส่วนที่เว้าทาบด้านหน้าเพื่อรองรับคาง จัดเฝือกให้กระชับลำคอและติดตีนตุ๊กแกให้กระชับ 2. เฝือกคอฟิลาเดเฟีย (Philadelphia Collar) ใช้เพื่อจำกัดและป้องกันการเคลื่อนที่ของส่วนคอ เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาในส่วนของกระดูกคอเช่น อาการปวดหรือบาดเจ็บที่เกิดจากภาวะกระดูกส่วนคอเสื่อม กระดูกส่วนคอเคลื่อน เป็นต้น วิธีการใส่อุปกรณ์ 1. นำเฝือกชิ้นส่วนหลังทาบที่ลำคอด้านหลังให้พอดี 2. นำชิ้นส่วนหน้า(ชิ้นที่มีรู)มาทาบรองรับส่วนคาง โดยให้คางวางอยู่บนร่องภายในตัวเฝือกชิ้นหน้า 3. ประกบชิ้นหน้าทับชิ้นหลังContinue reading “การใช้อุปกรณ์เฝือกพยุงคอ”
- อาการปวดคอเรื้อรัง(Chronic Neck Pain) งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ อาการปวดคอเรื้อรัง อาการปวดคอเรื้อรัง หมายถึง อาการปวดคอต่อเนื่อง หรือเป็นๆหายๆมากกว่า 3 เดือน บางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปศีรษะ หรือปวดร้าวไปบ่า ไหล่ มือข้างใดข้างหนึ่ง สาเหตุของการปวดคอ 1.กล้ามเนื้อคอหดเกร็งจากท่าทางในกิจวัตรประจำวันที่ผิด หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป หรือจากภาวะความเครียดทางจิตใจ2.กล้ามเนื้อคอเคล็ดหรือยอกเฉียบพลัน จากการใช้งานมากเกินไป หรือการเคลื่อนไหวแบบเร็ว หรือรุนแรงเกินไป3.ภาวะกระดูกคอเสื่อม โดยอาจเป็นความเสื่อมตามอายุหรือจากการใช้งาน4.หมอนรองกระดูกคอเคลื่อน จากการบาดเจ็บหรือความเสื่อมของหมอนรองกระดูก ทำให้มีการยุบตัวและเคลื่อนที่5.การบาดเจ็บของกระดูกคอ กระดูกคอหักหรือเคลื่อนจากอุบัติเหตุที่รุนแรง เช่น ตกจากที่สูง อุบัติเหตุจากยานพาหนะ6.สาเหตุอื่นๆ เช่น เนื้องอกการติดเชื้อ เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุ และวางแผนการรักษาให้ถูกต้องและเหมาะสม การออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ ประกอบด้วย1.การออกกำลังกล้ามเนื้อคอ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทาน2.การออกกำลังแบบยืดเหยียด เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และลดอาการปวดเกร็ง3.การออกกำลังแบบแอโรบิกเพื่อสร้างความแข็งแรงพื้นฐาน เช่น เดิน ว่ายน้ำ โยคะ ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล 1.ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรง บริหารกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของคอ ทุกท่าให้เกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้ นับ 1-3 แล้วคลายออก ทำ 10คร้ังContinue reading “อาการปวดคอเรื้อรัง”
ประกาศรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน ปีการศึกษา 2564

เรียน แพทย์ผู้สนใจเข้าฝึกอบรม แพทย์ประจำบ้าน สาขาประสาทศัลยศาสตร
เนื่องด้วยกลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา จะทำการทดสอบวัดความรู้พื้นฐานทางประสาทศัลยศาสตร์ ในวันพุธที่ 23 กันยายน 2563 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมกลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ ตึกรัชมงคลชั้น 3
หากคุณหมอสนใจทดสอบวัดความรู้พื้นฐานทางประสาทศัลยศาสตร์ เพื่อเข้าฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาประสาทศัลยศาสตร์
สามารถสแกนไฟล์ เอกสารเป็น PDF ( แบบฟอร์มเตรียมสมัครฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน และ หลักฐานที่นำมาประกอบการพิจารณา) ส่งมายัง E-mail P.soopassorn@gmail.com ภายในวันที่ 11 กันยายน 2563
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ 02-306-9818
กำหนดการสอบ In-training Examination
– Topic: epilepsy, pediatric and functional neurosurgery
– Date and Time: 6 กพ 2563, 8.00 น.- 9.00 น.
เปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดผู้ป่วย ‘ลมชัก’ เครื่องแรกในไทย

กรมการแพทย์เปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสมองผู้ป่วยโรคลมชักเครื่องแรกของประเทศไทย ที่สถาบันประสาทวิทยา เพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด ลดภาวะแทรกซ้อน ลดระยะเวลาการผ่าตัดได้ถึง 4-8 ชั่วโมง ประชาชนใช้ได้ทุกสิทธิการรักษา
วันนี้ (12 ธันวาคม 2562) ที่สถาบันประสาทวิทยา กทม. นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์
พร้อมด้วยนายเรวัต อารีรอบ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวเปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสมองผู้ป่วยโรคลมชักเครื่องแรกในประเทศไทย ที่สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ประชาชนใช้บริการได้ทุกสิทธิ์การรักษา
อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่า สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีการแพทย์ชั้นสูง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการรักษาที่ทันสมัย ปลอดภัย ลดการรอคอย โดยนำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสมอง ที่มีความแม่นยำสูง ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ลดระยะเวลาผ่าตัดจากเดิม 8-10 ชั่วโมง มาใช้ช่วยผ่าตัดสมองในโรคลมชักเครื่องแรกในประเทศไทย ทั้งนี้ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดยังช่วยผ่าตัดผู้ป่วยโรคทางสมองได้อีกหลายโรค หลายหัตถการ เช่น การผ่าตัดวางขั้วไฟฟ้าเพื่อหาจุดกำเนิดของโรคลมชัก การผ่าตัดวางเครื่องมือ DBS ในโรคพาร์กินสัน ผ่าตัดเนื้องอกในสมองทั่วไปและเนื้องอกที่บริเวณต่อมใต้สมองซึ่งอยู่ในส่วนลึก การผ่าตัดชิ้นเนื้อในสมองส่วนลึก การผ่าตัดส่องกล้องในสมอง (Endoscope) หรือการผ่าตัดอื่น ๆ ที่ต้องการความแม่นยำสูง ขณะนี้ได้ช่วยผ่าตัดผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากและมีความซับซ้อนไปแล้ว 4 ราย
โดยปกติในผู้ป่วยโรคลมชักที่มีจุดกำเนิดของโรคจากสมองเฉพาะที่และดื้อต่อการรักษาด้วยยากันชัก จะรักษาด้วยการผ่าตัดใส่ขั้วไฟฟ้าเข้าไปตรวจวัดหาตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดที่เล็กที่สุดและตรวจวัดการทำหน้าที่ของสมองเพื่อวางแผนผ่าตัด เมื่อนำหุ่นยนต์มาช่วยวางแผนผ่าตัดวางขั้วไฟฟ้าเพื่อหาจุดกำเนิดชักและโรคพาร์กินสัน ซึ่งมีความแม่นยำทั้งตำแหน่งและความลึกของเป้าหมาย ผ่านระบบนำวิถี Navigation ของตัวหุ่นยนต์ จะช่วยลดระยะเวลาการผ่าตัดได้ถึง 4-8 ชั่วโมงต่อหัตถการ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องหลับภายใต้ยาสลบ ลดความบอบช้ำจากการผ่าตัด ศัลยแพทย์สามารถใช้เวลากับผู้ป่วยได้มากขึ้นโดยไม่เหนื่อยล้าเท่าเดิม รวมทั้งใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยพาร์กินสันด้วยการจี้สมอง (Thermocoagulation)
ใส่เครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation) เพื่อรักษาโรคลมชัก
สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคลมชักกว่าห้าแสนราย เกือบหนึ่งแสนห้าหมื่นรายมีภาวะดื้อยากันชัก ครึ่งหนึ่งสามารถผ่าตัดรักษาได้ตามวิธีมาตรฐาน อีกครึ่งหนึ่งต้องตรวจหาจุดกำเนิดชักซึ่งมีความซับซ้อน ซึ่งสถาบันประสาทวิทยาสามารถผ่าตัดรักษาผู้ป่วยได้ทุกกลุ่ม หากพบผู้ป่วยมีอาการชักในที่สาธารณะ ต้องตั้งสติ และไม่งัด ไม่ง้าง ไม่ถ่าง ไม่กด
ไม่ทั้งหมด ชักจะหยุดเอง แค่ดูแลให้ผู้ป่วยชักอย่างปลอดภัยก็เพียงพอ นอกจากนี้ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อผู้ป่วยโรคลมชัก
เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ โดยมีกิจกรรมเพื่อจัดหาทุน เช่น กิจกรรม “ชัก…อยากจะวิ่ง” ดำเนินการมาแล้ว 3 ปี ในปีนี้จะจัดในวันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2563 ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อมีส่วนร่วมช่วยเหลือผู้ป่วย ลงทะเบียนออนไลน์ที่ https://prrunner.net/race/regist-run-outofshadows/
************************************
#กรมการแพทย์ #สถาบันประสาทวิทยา #หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสมอง
ที่มา: https://www.pptvhd36.com/news/115818?fbclid=IwAR3SxITkAc1YcsxDbbjnc6YdXJnNBr0r5VhmmWgyvrLF0nCyiSsq36s5-mQ
โครงการรักษ์หลัง สำนักงาน ปปช 2562







Source: https://web.facebook.com/PNI.Bangkok/posts/1157182421138145
กิจกรรมทำบุญประจำปี ห้องผ่าตัด สถาบันประสาทวิทยา
