Research and Training

Research and Clinical practice guideline

งานวิจัย สื่อสิ่งพิมพ์ และ แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์

Residency and Fellowship Training

หลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

Resources for Residents and fellows

สื่อการเรียนการสอนสำหรับแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด


หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาประสาทศัลยศาสตร์ มีเป้าหมายให้แพทย์ประจําบ้านที่สําเร็จ การฝึกอบรม เป็นประสาทศัลยแพทย์ที่มี ความรู้ความสามารถและทักษะ ทั้งในด้าน การรักษา การศึกษาต่อเนื่อง การวิจัยพัฒนา  ความสามารถในการทำงานแบบมืออาชีพปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพเป็นทีมได้มีเจตนารมณ์และเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยเพื่อการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ  และสามารถบริหารจัดการในการให้บริการผู้ป่วยทางประสาทศัลยศาสตร์ได้อย่างสมบูรณ์ครบวงจรตามความต้องการของประเทศไทยและสามารถเทียบเทียมนานาชาติได้

                  สถาบันประสาทวิทยาเริ่มมีการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านมาตั้งแต่พ.ศ.2521โดยที่แพทยสภาได้อนุมัติให้มี โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านสาขาต่างๆ นส่วนของหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านสาขาประสาทศัลยศาสตร์น้ัน ระยะเริ่มแรกกําหนดระยะเวลาการฝึกอบรมเพียง 3 ปี เท่ากับสาขาอื่นๆ ตามความต้องการของประเทศในขณะน้ัน แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วิชาความรู้ทางประสาทวิทยา ประสาทศัลยศาสตร์ และเทคโนโลยี ทางการแพทย์ มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมากทั้งทางกว้างและทางลึก จึงมีความจําเป็นและเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องปรับปรุงหลักสูตร และขยายระยะเวลาในการฝึกอบรมเป็น 5 ปี โดยมีแนวทางให้แพทย์ประจําบ้านผู้สําเร็จการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลาง เพื่อรักษามาตรฐาน ให้ใกล้เคียงกับสากล มีความรู้ความสามารถแบบมืออาชีพมีประสบการณ์การผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยอย่างเพียงพอในการที่จะสามารถให้บริการด้านประสาทศัลยศาสตร์ อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์การผ่าตัด ตามกําลังทรัพยากรที่มีอยู่ ตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของผู้ป่วย สังคม และชุมชนน้ันๆ   นอกจากนี้ยังมุ่งหวังผลิตประสาทศัลยแพทย์ที่สามารถปฏิบัติงานแบบสหสาขาในประเทศไทย ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการบริการด้านประสาท ศัลยศาสตร์และลดการส่งต่อผู้ป่วยมารับการรักษาตัวในส่วนกลาง